ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกเพื่อการเรียนการสอนและการนิเทศ

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระเบียบปฎิบัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ



ระเบียบปฏิบัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
       1.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 1 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
       2.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องแต่งการตั้งแต่เส้นผมจรดรองเท้า และใช้เครื่องแบบนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา
       3.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ต้องห้ามการพนัน อบายมุข สิ่งเสพย์ติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด
       4.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามคำตักเตือนและคำแนะนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศอย่างเคร่งครัด
       5.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องไปโรงเรียนฝึกประสบการณ์ก่อนเวลาโรงเรียนเข้าอย่างน้อย 30 นาที และกลับที่พักหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 30 นาที เป็นอย่างน้อย
       6.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องลงเวลาการทำงานและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการทำงานที่โรงเรียนจัดไว้ให้
       7.การขออนุญาตลาป่วย นักศึกษาจะต้องยื่นใบลาตามระเบียบของทางราชการต่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว
       8.ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นักศึกษาอนุญาตจากอาจารย์พี่เลี้ยง หรือผู้บริหารโรงเรียน และปฏิบัติตามระเบียบการออกนอกบริเวณโรงเรียนตามระบุในสัญญาที่ทำไว้กับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
       9.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นทดลองปฏิบัติงานจึงไม่มีสิทธิลากิจ ยกเว้นกรณีได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน 
       10.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงาน ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ และอาจารย์นิเทศทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือ ตัวนักศึกษาเอง
       11.นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับการทำแผนการสอน และต้องส่งแผนการสอนให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนสอน 1 สัปดาห์
       12.นักศึกษาที่เป็นประธานหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงานการมาสาย ขาด การลาป่วย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศ และสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์ในวันสัมมนาทุกครั้ง และวันปัจฉิมนิเทศ
       13. นักศึกษาจะต้องมีการประชุมหารือ เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเลขานุการหน่วยฝึกต้องจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานการประชุมทุกครั้ง และส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวันสัมมนาและปัจฉิมนิเทศ
       14. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ที่พักในบ้านพักของโรงเรียน จะต้องไม่นำบุคคลภายนอกมาค้างคืนในบ้านพัก การไปค้างคืนที่อื่นจะต้องแจ้งให้อาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องที่พักทรายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
       15.ถ้านักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แม้นักศึกษาได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้วก็ยังไม่แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้นักศึกษาพ้นสภาพการฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ในภาคเรียนนั้น

การประเมินผลการฝกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบติการสอนในสถานศึกษา

    การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาเป็นกระบวนการพิจารณาเพื่อตัดสินการปฏิบัติงานของนักศึกษานช่วงเวลาที่กำหนดให้ปฏิบัติงาน
จุดมุ่งหมาย
    เพื่อพิจารณาว่าประสิทธิภาพของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เกิดสัมฤทธิ์ผลหรือไม่เพียงใดนั้น พิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
    1. การปฏิบัติตนตามคุณลักษณะและงานในหน้าที่ของนักศึกษาฝึกปรสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
    2. ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
    3. คุณลักษณะและการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกประสบกรณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
    4. ดำเนินงานตามพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
    5. การประมวลผลการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาและการปฏิบัติกิจกรรมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา


แบบประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถาศึกษา มีดังต่อไปนี้

    1. แบบประเมินผลคุณลักษณะและผลการปฏิบัิติงานในหน้าที่ของนักศึกษาฝึกปรสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นกาปฏิบัติการสอนนสถานศึกษา (ป.1)
    2. แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกปรสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นกาปฏิบัติการสอนนสถานศึกษา (ป.2)
    3. แบบประเมินพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกปรสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นกาปฏิบัติการสอนนสถานศึกษา (ป.3)
    4. แบบประเมินผลคุณลักษณะและการปฏิบัติงานของนักศึกษาฝึกปรสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นกาปฏิบัติการสอนนสถานศึกษา (ป.4)
    5. แบบการประมวลผลการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาและเข้าร่วมกิจกรรมของฝ่ายฝึกปรสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นกาปฏิบัติการสอนนสถานศึกษา (ป.5)

ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

    1. ผู้บริหารโรงเรียน ทำหน้าที่ประเมินผล ตามประเมินผ ป.1
    2. อาจารย์พี่เลี้ยง ทำหน้าที่ปรเมินผลและให้ข้อเสนอแนะ ตามแบบปรเมิน ป.2,ป.3 และ ป.4
    3. อาจารย์นิเทศก์วิชาเฉพาะ ทำหน้าที่ประเมิน ตามแบบประเมิน  ป.2,ป.3 และ ป.4
    4. ฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ ทำหน้าที่ประเมินผลตามแบบประเมินผล ป.5

คำอธิบายรายวิชา
........ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพวิเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้

วัตถุประสงค์ในรายวิชา
........เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
3. ยกตัวอย่างเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้

เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน
  • วิธีสอน :  เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
  • เนื้อหาบทเรียน :  เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
  • เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ : ความซื่อสัตย์(integrity)
                 กิจกรรมการเรียนการสอน


                                         จัดนิทรรศการ วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์  2556







    • การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ (traditional classroom)
    • การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
    • การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ ICT
    • การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
    • การสรุปเป็นรายงาน
    • การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล




















วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาพโรงเรียนกุยเลอตอ


















รูปภาพรับเสด็จ

รับเสด็จพระเทพฯ

สภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมในโรงเรียน

รูปการ์ตูนย์สติป


วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรียนเว็บบล็อกได้ความรู้มากมาย  เจ้าค่ะ  ๆ อิๆ   สนุกมาก ๆ  





ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๗  เดิมมีชื่อว่า ”วิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง”(Chombueng Village Institute) โดยก่อตั้งเป็นสถานศึกษาตามแนวคิด  "วิทยาลัยหมู่บ้าน"
ของประเทศตุรกีมีจุดมุ่งหมายในการก่อตั้ง ๔ ประการคือ

๑. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูในชนบทที่ต้องการพัฒนา  โดยคัดเลือกนักเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารเข้าศึกษาเป็นอันดับแรกเมื่อศึกษาสำเร็จแล้วให้กลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตน
๒. เพื่อปลูกฝังนักศึกษาครูให้รักอาชีพครูโดยผ่านการศึกษาเล่าเรียนและฝึกงานหลายแบบ  เพื่อนำความรู้ความชำนาญไปลงมือปฏิบัติได้
๓. เพื่อให้นักศึกษาครูรู้จักปฏิบัติตนในการเข้าสังคมโดยอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตยคือการเคารพนับถือกันช่วยเหลือเกื้อกูลกันมีสติ
๔. เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในท้องถิ่นใกล้เคียง  ในระยะแรกวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึงได้เปิดสอนหลักสูตร ๕ ปี  โดยรับนักศึกษาทุนจากถิ่นทุรกันดารจากทั่วประเทศซึ่งสำเร็จชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๗ เข้าเรียนเมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา

อ่านเพิ่มเติมhttp://www.mcru.ac.th/m1/m_about.php?action=history

การอบเว็บบล็อก

การอบรมเว็บบล็อกสถานที่มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู้บ้านจอมบึง  จ . ราชบุรี 
วันที่  2 -3 พ.ค. 55
โดย   อ. สุจิตตรา  (ครูแจ๊ค)
ของ พี่อังค่ะ  จุบุ   http:pp2 angkana14.blogspot.com

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ นางอังคณา  เก้าคำ
ชื่อเล่น  พี่อัง
ภูมิลำเนา    37 หมู่  6 ต.แม่จัน  อ.อุ้มผาง  จ. ตาก 
e - mail     angkana 25166 @ gmail.com
ปัจจุปัน  นักศึกษาโครงการพระราชดำริ  รุ่นที่ 2 
อาหารที่ชอป  น้ำพริกปลาทู
สีที่โปรด   สีฟ้า
ทัศนคติ    ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

เข้าชมเว็บบล็อกค่ะ

ยินดีต้อนรับเว็บบล็อก อังคณาค่ะ